ลักษณะโครงการ โครงการก่อสร้างอาคารเรียน ศูนย์พัฒนาบุคลากรด้านการบิน อาคารฝ่ายอำนวยการและสิ่งก่อสร้างประกอบพร้อมครุภัณฑ์จะดำเนินการก่อสร้างและปรับปรุงบนพื้นที่ ของสถาบันการบินพลเรือนกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในที่ดินของราชพัสดุ (กรมธนารักษ์) บริเวณสถานีขนส่งหมอชิต (เดิม) เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร บนพื้นที่โครงการประมาณ 27-1-58 ไร่ สรุปงานก่อสร้างโครงการตามสัญญา ประกอบด้วย • งานก่อสร้างอาคารเรียน ศูนย์พัฒนาบุคลากรด้านการบิน อาคารฝ่ายอำนวยการ (อาคาร A) เป็น Tower สูง 18 ชั้น พื้นที่รวมประมาณ 39,025 ตารางเมตร พร้อมงานครุภัณฑ์ประกอบอาคาร • งานก่อสร้างอาคารกองวิชาอากาศยานและเครื่องยนต์(อาคาร E) สูง 4 ชั้นพื้นที่รวมประมาณ 1,560 ตารางเมตร พร้อมงานครุภัณฑ์ประกอบอาคาร • งานปรับปรุงอาคารเดิมได้แก่ อาคาร 1,อาคาร 11,อาคาร 12,และอาคาร 15 ตามผังใหม่เพื่อให้มีฟังก์ชั่นและรูปแบบที่กลมกลืนกับอาคารที่ออกแบบใหม่ • งานก่อสร้างถนน ระบบระบายน้ำและระบบสาธารณูปโภค ได้แก่ระบบสุขาภิบาลและระบบไฟฟ้าสื่อสาร • งานปรับปรุงผังบริเวณ ภูมิทัศน์และสิ่งก่อสร้างประกอบ ผังแสดงภาพถ่ายทางอากาศบริเวณพื้นที่โครงการ แผนผังหลักโครงการ (MASTER PLAN) 1.งานก่อสร้างอาคารเรียน ศูนย์พัฒนาบุคลากรด้านการบิน อาคารฝ่ายอำนวยการ (อาคาร A) งานก่อสร้างอาคารเรียน ศูนย์พัฒนาบุคลากรด้านการบิน อาคารฝ่ายอำนวยการ (อาคาร A) เป็นงานก่อสร้างอาคารสร้างใหม่ TOWER สูง 18 ชั้น และมีส่วนพื้นที่ที่เป็น PODIUM สูง 4 ชั้น พื้นที่รวมกันประมาณ 39,025 ตารางเมตร มีชั้นใต้ดินเป็นที่จอดรถ 1 ชั้นจอดรถได้ประมาณ 100 คัน • ส่วน PODIUM ของอาคาร ประกอบด้วย ชั้น 1 เป็นพื้นที่และห้องอาหารรวมจุรวม 500 คน ชั้น 2-3 เป็นพื้นที่ห้องบรรยายรวม 50 ที่นั่ง, 80 ที่นั่ง, 150 ที่นั่งและ 300 ที่นั่ง ชั้น 4 เป็นห้องประชุมมาตรฐาน ขนาด 1,000 ที่นั่ง • ส่วน TOWER เป็นอาคารประกอบด้วย ชั้น 1 - 4 เป็นพื้นที่ส่วนต้อนรับ,ส่วนบริการนักศึกษา ห้องบรรยายรวม ห้องสมุด ชั้น 5 – 6 เป็นสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศการบินและแผนกต่างๆ ชั้น 7 – 8 เป็นกองวิชาภาษาอังกฤษฯ ชั้น 9 – 12 เป็นพื้นที่สำหรับกองวิชาต่างๆ ชั้น 13-16 เป็นส่วนสำนักงานต่างๆ , และศูนย์ LOGISTICS ชั้น 17-18 เป็นพื้นที่ทำงานสำหรับผู้บริหารและคณะกรรมการฯ สถาบันการบินพลเรือน อาคาร A แบ่งพื้นที่ใช้สอยเป็น ZONE ต่างๆ ตามลักษณะของกิจกรรมและโครงสร้างองค์กร • ZONE PUBLIC ของนักศึกษา, บุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน, ห้องเรียนรวม ,ห้องประชุม 1,000 คน, โรงอาหารรวมและห้องสมุด ฯลฯ จัดพื้นที่อยู่ในส่วน PODIUM ที่สูงไม่เกิน 4 ชั้น • ZONE PRIVATE และ SEMI-PUBLIC (กึ่งสาธารณะ) เช่น สำนักงานฝ่ายบริหาร, ฝ่ายวิชาการ, กองวิชาต่างๆ, ห้องผู้บริหารและคณะกรรมการ จัดพื้นที่อยู่ในส่วนTOWER • SERVICE ZONE (ส่วนบริการ) เช่น ห้องเครื่องงานระบบต่างๆ และที่จอดรถ จัดพื้นที่อยู่ที่ชั้น 1และชั้นใต้ดิน (BASEMENT) หรือที่ชั้นดาดฟ้า อาคารออกแบบเปิด COURT โล่ง ภายในอาคาร เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงและเป็นพื้นที่พักผ่อน ของผู้ใช้อาคารและช่วยในการเปิดรับแสงและลมธรรมชาติ กำหนดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เช่น ลิฟต์, ทางลาด, ห้องน้ำคนพิการ ฯลฯ รูปลักษณ์อาคารเป็นผิวระนาบโค้ง (DYNAMIC SHAPE) แสดงถึงลักษณะ AERO DYNAMIC และสื่อถึงรูปทรงของปีกเครื่องบิน วัสดุหลักที่ใช้ภายนอกอาคารและเพื่อการประหยัดพลังงาน • ส่วน TOWER กรุด้วยผนัง ALUMINIUM COMPOSITE และผนังกระจกลามิเนตสื่อถึงวัสดุของเครื่องบินและความทันสมัย • ส่วน PODIUM เป็นผนังก่ออิฐฉาบปูนเรียบทาสีและเซาะร่องแนวผนัง บางส่วน กรุแผ่น ALUMINIUM COMPOSITE และผนังกระจก / อลูมิเนียม • ผนังอาคารโดยรอบติดตั้งแผงกันแดด ALUMINIUM LOUVERS เพื่อช่วยลดความร้อนสู่ตัวอาคาร • หลังคา คสล. / ดาดฟ้าและหลังคา Metal Sheet ติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพ • ออกแบบโดยคำนึงถึงค่า OTTV และ RTTV และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงาน งานวิศวกรรมโครงสร้างอาคาร A • เป็นอาคารสูง 18 ชั้น ชั้นใต้ดิน 1 ชั้น เสาเข็มเป็นเสาเข็มเจาะชนิดเปียก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.80 – 1.00 เมตร ความยาวลึกอย่างน้อย 45.00 เมตร ใช้ กำแพงกั้นดินคอนกรีตเสริมเหล็กในส่วนชั้นใต้ดิน • โครงสร้างอาคารใช้พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงสร้างพื้นส่วนใหญ่เป็นพื้นคอนกรีตอัดแรง (Post – Tensioned) มีความยาวช่วงเสามากสุด 12.00 เมตร และยังใช้ช่องลิฟต์รวมถึงช่องบันไดเป็นโครงสร้างต้านแรงแผ่นดินไหว ตามมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (มยผ.1301-50,มยผ.1302) ระบบน้ำประปาอาคาร A • เตรียมถังสำรองน้ำประปาขนาด 420 ลบ.ม.ที่ชั้นใต้ดินโดยมีการสำรองใช้น้ำ • การจ่ายน้ำประปา ใช้วิธีจ่ายน้ำด้วยแรง Gravity • 3 ชั้นบนสุดของอาคาร จ่ายน้ำด้วยเครื่องสูบน้ำเพิ่มความดัน (Constant Pressure Booster Pump System) ระบบระบายน้ำเสีย • ระบบท่อน้ำเสียในอาคารจะใช้ระบบท่อแยก Soil, Waste, Vent, Kitchen Waste Pipe ลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสียของอาคาร • โครงการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียภายในอาคาร โดยออกแบบเป็นระบบ Aeration + An-Aeration System ขนาด 380 ลบ.ม./วัน สามารถบำบัดน้ำเสียตามมาตรฐานน้ำทิ้ง ระบบระบายน้ำฝน ภายในอาคาร A • การระบายน้ำฝนจากหลังคาจะใช้รางระบายน้ำร่วมกับหัวรับน้ำฝน (Roof Drain) ในตำแหน่งที่เหมาะสมโดยเชื่อมต่อท่อระบายน้ำฝนภายในอาคารกับ Manhole เดิมของโครงการ • การระบายน้ำในบริเวณที่จอดรถชั้นใต้ดินจะกำหนดให้มีรางระบายน้ำและบ่อสูบระบายน้ำที่พื้นครอบคลุมทั่วบริเวณเพื่อให้สามารถสูบน้ำออกจากพื้นที่ได้โดยแต่ละสถานีประกอบด้วยเครื่องสูบระบายน้ำ จำนวน 2 ชุด (Run-1, Standby – 1 ) ระบบป้องกันอัคคีภัย อาคาร A แหล่งจ่ายน้ำดับเพลิงหลัก (Initial Water Supply • จัดเตรียมถังสำรองน้ำดับเพลิงที่ชั้นใต้ดินของอาคาร โดยทำการสำรองน้ำดับเพลิงที่ปริมาตรไม่น้อยกว่า 180 ลบ.ม. สามารถดับเพลิงได้อย่างน้อย 30 นาที(ตามกฏกระทรวงฉบับที่ 33 กำหนดไว้ ที่ 30 นาที) ถังสำรองน้ำดับเพลิงออกแบบแยกต่างหากจากถังเก็บน้ำประปาสำหรับใช้งานทั่วไป • แหล่งจ่ายน้ำดับเพลิงหลัก(Initial Water Supply)จัดให้มีเครื่องสูบน้ำดับเพลิงประกอบไปด้วยเครื่องสูบน้ำดับเพลิง 2 ชุด ขนาดอัตราการไหลชุดละไม่น้อยกว่า 750 GPM ซึ่งเป็นแบบขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซล 1 ชุด และชุดเครื่องสูบน้ำรักษาความดัน (Jockey Pump) 1 ชุด • จัดเตรียมหัวรับน้ำดับเพลิง (Fire Department Connection) สำหรับรับน้ำเข้าระบบท่อ และออกแบบให้มีจำนวนหัวรับน้ำดับเพลิงเพิ่มขึ้นสำหรับรับน้ำเข้าสู่ถังเก็บน้ำดับเพลิงโดยตรงโดยผ่านเครื่องสูบน้ำจากรถดับเพลิง ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง (Sprinkler System) • จัดเตรียมระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง(Sprinkler System) ครอบคลุมพื้นที่ภายในอาคารทั่วทั้งอาคารตามมาตรฐานของ วสท. และ NFPA • ระบบดับเพลิงแบบชะลอน้ำเข้า (Pre Action Sprinkler System) สำหรับห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และ ห้องเครื่องไฟฟ้าหลัก ระบบดับเพลิงด้วยก๊าซสะอาด (Clean Agent) • จัดเตรียมระบบดับเพลิงด้วยก๊าซสะอาด (NOVEC-1230 Fire Suppression System) สำหรับห้อง DATA CENTER ระบบก๊าซหุงต้ม (LPG System) • โครงการจัดเตรีมระบบก๊าซหุงต้มสำหรับร้านอาหารในพื้นที่เช่า โดยแยกออกเป็นแต่ละร้านในพื้นที่ส่วน Service ของแต่ละร้าน ระบบไฟฟ้า ของอาคาร A • จัดให้มี Unit Substation บริเวณหน้าโครงการ และเดินระบบแรงสูงแบบ Underground เข้าโครงการ มีบ่อพักสายไฟฟ้าให้ใช้ตามมาตรฐานของการไฟฟ้านครหลวง • การจ่ายกำลังไฟฟ้าจะรับไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง ที่ระดับไฟฟ้าแรงดันสูง 24 kV จะใช้ระบบ Ring Main Unit (RMU) ชนิด Indoor มีหม้อแปลงไฟฟ้าป็นชนิด Dry Type จำนวน 2 ลูก ขนาด 2x1,600 kVA ตั้งอยู่ในห้องไฟฟ้าภายในอาคาร โดยกำหนดให้มี Routine Test จากโรงงานผู้ผลิต • ATS กำหนดเป็น Double Throw Switch ขนาด 4P,2500A • มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า Generator ขนาด 1,250kVA (Prime Rate) ประกอบสำเร็จรูปจากโรงงาน และมีการทำ Sound proof ที่ 85 DB ที่ระยะ 1 เมตร ประตูห้องเป็นแบบกันเสียงและกันไฟ • ระบบแสงสว่างจากโคมไฟฉุกเฉิน จะมีแบตเตอรี่ ที่สามารถจ่ายไฟได้นานไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ระบบคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์ ของอาคาร A • ระบบโทรศัพท์และการสื่อสารข้อมูลประกอบด้วยเครื่องชุดสายโทรศัพท์อัตโนมัติ PABX และตู้ MDF ที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบการสื่อสารต่างๆ กับทั้งองค์การโทรศัพท์ การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง • ระบบโทรศัพท์เป็นระบบ Analog โดยมีการเดินสายภายในตัวอาคาร ที่รับรองระบบ IP-PHONE สามารถเชื่อมต่อกับระบบเดิมที่ใช้ในสถาบัน ได้เป็นอย่างดีทั้งด้านโปรแกรมและการใช้งาน • มี Rack สื่อสาร ติดตั้งอยู่ประจำชั้น และสายโทรศัพท์ในอาคารจะร้อยท่อ Conduit แบบโลหะ สายโทรศัพท์จะเป็นชนิด AP, TPEV, TIEV หรือ UTP หนึ่งคู่สายโทรศัพท์จะมี 4 Core อยู่ภายในคู่สาย เต้ารับโทรศัพท์จะเป็นแบบ RJ 11 หรือ RJ 45 ติดตั้งตามจุดต่างๆ โดยผ่านแผงโทรศัพท์ประจำชั้น ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ อาคาร A • ระบบ Multiplex โดยใช้ Module ควบคุมโซน ในส่วนของสาย Loop การเดินสายเป็นแบบ Class A ใช้สาย Twist Pair Shield FRC สายโซนเป็นแบบ Class B • กำหนดให้มีคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมการทำงาน ระบบโทรทัศน์วงจรปิด • เป็นระบบ CCTV แบบ Analog • Monitor กำหนดให้เป็น Security Grade สามารถใช้งานได้ 24 ชม. 365 วันต่อเนื่อง • จัดเตรียม Console พร้อมการติดตั้งเพื่อง่ายในการใช้งาน ระบบควบคุมการเข้า – ออกประตูอัตโนมัติ • Main Equipment Access Control ติดตั้งบริเวณห้องควบคุม ระบบเสียงประกาศเรียก • Main Equipment ติดตั้งบริเวณห้องควบคุม โดยเดินสายสัญญาณไปยังพื้นที่ต่างๆโดยรับสัญญาณจากระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ในกรณีไฟไหม้เพิ่มเติม ระบบโสตทัศนูปกรณ์ ของอาคาร A • ติดตั้งครุภัณฑ์ระบบโสตทัศนูปกรณ์ ระบบอะคูสติกส์,ระบบภาพ,ระบบเสียง และระบบแสง สำหรับโรงอาหาร,โถงทางเข้า,ห้องประชุม,ห้อง Lecture,ห้อง LAB,ห้องประชุม 1,000 คน ที่ทันสมัย ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ(ห้อง Data Center)มีเฉพาะที่อาคาร A • จัดหาอุปกรณ์ UPS, Hardware และ Software ตามที่ระบุในแบบและ Spec ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ อาคาร A • งานระบบปรับอากาศ ตั้งแต่ชั้นล่างขึ้นไปทั้งหมด ทุกชั้นเป็นระบบ VRF ซึ่งจะจัดวาง CDU ไว้อยู่ชั้นดาดฟ้า ยกเว้นบางห้องที่จะเป็นระบบปรับอากาศอื่น เช่น - ห้องพนักงานขับรถ ชั้น B , ห้อง ประชุม 1,000 คน ชั้น 3 เป็นระบบ SPLIT TYPE - ห้อง DATA CENTER ชั้น 5 เป็น PRECITION AIR • งานระบบระบายอากาศ จะเป็นพัดลมระบายอากาศตัวเล็ก ระบายอากาศเป็นชั้นต่อชั้น • จัดให้มีพัดลมอัดอากาศสำหรับลิฟต์ดับเพลิง 1 ชุด งานระบบลิฟต์ มีเฉพาะในอาคาร A • ติดตั้งลิฟต์โดยสาร (PASSENGER LIFTS) จำนวน 6 ชุด • ติดตั้งลิฟต์ดับเพลิง (FIREMAN LIFT) จำนวน 1 ชุด 2.งานก่อสร้างอาคารกองวิชาอากาศยานและเครื่องยนต์ (อาคาร E) งานก่อสร้างอาคารกองวิชาอากาศยานและเครื่องยนต์(อาคาร E)สูง 4 ชั้น พร้อมครุภัณฑ์ พื้นที่ใช้สอยอาคารรวม 1,560 ตร.ม. ประกอบด้วย ชั้น 1 ห้องพักอาจารย์, และส่วนบริการ SERVICE ชั้น 2-4 ห้องเรียนรวม LECTURE , ห้องปฏิบัติการ ( LABORATORY ) • ผังห้องเรียน แบบ SINGLE LOAD CORRIDOR ตามสภาพพื้นที่ที่มีจำกัด • อาคารออกแบบเปิด COURT โล่งตรงกลางเพื่อเปิดรับแสงและระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ • รูปแบบอาคารที่สะท้อนเอกลักษณ์ของสถาบันการบิน เลือกใช้วัสดุสมัยใหม่ เช่น หลังคา Metal sheet ผนัง ALUMINIUM COMPOSITE, กระจกและ ALUMINIUM LOUVERS • ออกแบบอาคารให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ โดยมีแผงกันแดดป้องกันความร้อนและฝนและติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่หลังคา งานวิศวกรรมโครงสร้างอาคาร Eเป็นอาคาร 4 ชั้น เสาเข็มเป็นเสาเข็มเจาะ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.60 เมตร ความลึกปลายเสาเข็มอย่างน้อย 22.50 เมตร โครงสร้างอาคารมีความยาวของช่วงเสาเฉลี่ยอยู่ที่ 7.50 เมตร และ 4.00 เมตร โดยใช้โครงสร้างเหล็กในส่วนของคาน-เสา และใช้พื้นเป็นโครงสร้างพื้นสำเร็จรูป (Hollow Core) ระบบสุขาภิบาล อาคาร E ระบบน้ำประปา • เชื่อมต่อท่อเมนน้ำประปาของอาคารกับท่อเมนน้ำประปาเดิมของสถาบันการบิน โดยผ่านมิเตอร์น้ำประปาขนาด Ø2”(50 mm.) เข้าถังเก็บน้ำที่วางไปที่ชั้น 1 ขนาด 30 ลบ.ม. สำรองน้ำใช้ได้ 1 วัน • ระบบจ่ายน้ำประปาด้วยเครื่องสูบน้ำเพิ่มความดัน (Constant Pressure Booster Pump System) ตั้งแต่ชั้น 1 ถึงชั้นบนสุดของอาคาร ระบบน้ำเสีย • ท่อน้ำเสียในอาคารจะใช้ระบบท่อแยก โดยจะแยกท่อ Soil, Waste, Vent สู่ระบบบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปที่ชั้น 1 ก่อนระบายลงสู่บ่อพัก MH ระบบน้ำฝน • การระบายน้ำฝนจากหลังคาจะใช้รางระบายน้ำร่วมกับหัวรับน้ำฝน (Roof Drain) ในตำแหน่งที่เหมาะสมโดยเชื่อมต่อท่อระบายน้ำฝนภายในอาคารกับ Manhole เดิมของโครงการ ระบบไฟฟ้าอาคาร • ระบบไฟฟ้าจ่ายต่อไปให้แผงกระจายไฟฟ้าย่อยแต่ละชั้นหรือแต่ละโซน โดยจ่ายให้ระบบแสงสว่าง, ระบบสื่อสาร, ระบบปรับอากาศ, ระบบสุขาภิบาล • ระบบแสงสว่างจากโคมไฟฉุกเฉิน จะมีแบตเตอรี่ ที่สามารถจ่ายไฟได้นานไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ อาคาร E • ระบบ Hard-Wire และติดตั้ง Manual Call Station ไว้ตามบริเวณเส้นทางหนีไฟต่างๆ ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ อาคาร E • ระบบปรับอากาศจะเป็นระบบ SPLIT TYPE • ระบบระบายอากาศ เป็นพัดลมตัวเล็ก ระบายอากาศ ชั้นต่อชั้น 3. งานปรับปรุงอาคารเดิม ได้แก่ • อาคาร 1 อาคารอำนวยการเดิม • อาคาร 11 อาคารเรียน ATC SIMULATOR 1 • อาคาร 12 อาคารเรียน AVIONIC • อาคาร 15 อาคารเรียนช่างอากาศยาน อาคาร 1 และ 15 เป็นการปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยอาคารเดิม โดยมีการตัดรื้อโครงสร้างอาคารบางส่วนออกเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบผังแม่บทของสถาบันในอนาคต พร้อมทั้งทำการปรับปรุงตกแต่งภายในตามที่กำหนดในรูปแบบ (รูปลักษณ์ภายนอกอาคารยังคงใกล้เคียงของเดิม) อาคาร 11 และ 12 เป็นการปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยอาคารเดิม ซึ่งมีอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับเครื่อง Simulator โดยยังคงเก็บโครงสร้างเดิมไว้ส่วนใหญ่ มีการรื้อโครงสร้างอาคารบางส่วน ปรับปรุงรูปลักษณ์ภายนอกอาคารใหม่โดยใช้วัสดุสมัยใหม่ที่มีน้ำหนักเบา เช่น โครงเหล็ก, กระจก, อลูมิเนียมและวัสดุมุงหลังคา Metal Sheet ที่เป็นรูปทรงที่มีความโค้งสื่อถึงความเคลื่อนไหวและมีเอกลักษณ์สอดคล้องกับอาคาร A (สูง 18 ชั้น) พร้อมทั้งทำการปรับปรุงตกแต่งภายในตามที่กำหนดในแบบ ระบบสุขาภิบาล อาคาร 1,11,12 • เป็นการปรับปรุง โดยจะเดินท่อน้ำประปาและท่อน้ำเสียในห้องน้ำใหม่ทุกห้อง • ถังเก็บน้ำและถังบำบัด ยังคงใช้ของเดิม ระบบไฟฟ้า อาคาร 1,11,12 • ระบบไฟฟ้าจ่ายต่อไปให้แผงกระจายไฟฟ้าย่อยแต่ละชั้นหรือแต่ละโซน โดยจ่ายให้ระบบแสงสว่าง, ระบบสื่อสาร, ระบบปรับอากาศ, ระบบสุขาภิบาล • ระบบแสงสว่างจากโคมไฟฉุกเฉิน จะมีแบตเตอรี่ ที่สามารถจ่ายไฟได้นานไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ อาคาร 1,11,12 • ระบบปรับอากาศจะเป็นระบบ SPLIT TYPE • ระบบระบายอากาศ เป็นพัดลมตัวเล็ก ระบายอากาศ ชั้นต่อชั้น 4. งานถนนและระบายน้ำ และสาธารณูปโภคหลัก งานถนนและระบายน้ำ • ถนนภายในโครงการทั่วไปเป็นถนน คสล.หนา 20 ซม. งานก่อสร้างถนนดังกล่าวมีทั้งงานก่อสร้างถนนใหม่และทับบนแนวถนนเดิม พร้อมก่อสร้างคันหิน ทางเท้า และเครื่องหมายจราจรตามแบบมาตรฐาน • ระบบระบายน้ำเป็นการวางท่อ คสล.พร้อมบ่อพักน้ำใต้ทางเท้า โดยมีการไหลแบบแรงโน้มถ่วงและมีทิศทางการไหลของน้ำจากด้านหลังพื้นที่โครงการไหลมารวบรวมมายังบ่อพักน้ำทั้งสองแห่งบริเวณด้านหน้าของโครงการ • การควบคุมการระบายน้ำออกจากพื้นที่โครงการออกไปยังบ่อพักน้ำสาธารณะของกรุงเทพมหานครตามถนนพหลโยธิน โดยกรณีที่เหตุการณ์ปกติจะดำเนินการระบายน้ำฝนออกไปยังบ่อพักน้ำสาธารณะดังกล่าวด้วยแรงโน้มถ่วง แต่กรณีที่เกิดน้ำท่วมสูงด้านนอก หรือมีปริมาณน้ำฝนสูงกว่าค่าที่ออกแบบไว้ จะทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้ทันนั้น จะมีบ่อหน่วงน้ำพร้อมเครื่องสูบน้ำเพื่อทำการสูบน้ำฝนออกจากพื้นที่โครงการ ระบบสุขาภิบาล • ทำการเชื่อมต่อท่อเมนน้ำประปาชองอาคารกับท่อเมนน้ำประปาเดิมของสถาบันการบิน โดยผ่านมิเตอร์น้ำประปาขนาด Ø4”(100 mm.) ที่บริเวณด้านหน้าโครงการ แล้วไปเก็บที่ถังสำรองน้ำประปาที่ชั้นใต้ดินของอาคาร A ระบบไฟฟ้าและสื่อสาร งานผังบริเวณ • ระบบไฟฟ้าหลักจะมีการตั้ง Unit Substation บริเวณหน้าโครงการ และเดินระบบแรงสูงแบบ Underground เข้าโครงการรายละเอียดตามแบบแปลน บ่อพักสายไฟฟ้าให้ใช้ตามมาตรฐานของการไฟฟ้านครหลวง • ระบบคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ เดินสาย Fiber Optic Multi Mode 6 core 9/125 um เดินในท่อ HDPE พร้อมบ่อ Hand Hole เพื่อเชื่อมต่อกับทุกอาคารในสถาบัน 5. งานผังบริเวณและงานภูมิทัศน์ งานผังบริเวณและภูมิทัศน์ ประกอบด้วย • บ่อน้ำพุ ลาน PLAZA ด้านหน้าอาคารอำนวยการ (อาคาร A) • ลานเอนกประสงค์ด้านหลังอาคาร A • พื้นที่บริเวณหอพระ ด้านหน้าทางเข้าและรั้วรอบโครงการ • พื้นที่นันทนาการ ปรับปรุงสนามฟุตบอลเดิม และ จัดพื้นที่นั่งพักผ่อน อ่านหนังสือ |
|